เมลาโทนิน (Melatonin)
ช่วยให้นอนหลับได้จริงหรือ..❓
ในยุคที่การนอนหลับเป็นเรื่องที่ยากขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียด หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนเริ่มหาแนวทางการนอนหลับที่มีคุณภาพมากขึ้น และทุกคนคงเคยได้ยินผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ เมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งเป็นยารักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ..
เมลาโทนิน.com ขอขอบคุณ🙏
Original Content By SiPH
(โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์)
⪼ เมลาโทนิน คืออะไร..❓ ⪻
เมลาโทนิน คือ ฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นโดยจะหลั่งสารนี้ออกมาจากสมองในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งมีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้รู้สึกง่วงนอนเป็นกลไกการทำงานของร่างกายที่บ่งบอกว่าถึงเวลานอนหลับได้แล้ว..🥱
เมลาโทนิน (melatonin) ตัวช่วยนอนหลับยอดฮิต | โดยคณะเภสัชฯ
ในปัจจุบันเชื่อว่าหลายคนก็เคยเห็นผลิตภัณฑ์เมลาโทนินหลากหลายรูปแบบ โดยอาจสรุปได้ดังนี้
1. เมลาโทนินรูปแบบปลดปล่อยทันที (Fast Dissolve) มีทั้งที่อยู่ในรูปแบบยาเม็ดหรือรูปแบบอื่น เช่น กัมมี (gummies) ความแรง 3 มิลลิกรัม, 5 มิลลิกรัม, 10 มิลลิกรัม เป็นต้น (เพิ่มเติม.. แต่เป็นที่นิยมและยอมรับใช้ในอเมริกา ยุโรป ในรูปของอาหารเสริม)
2. เมลาโทนินรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น (Time Release) ความแรง 2 มิลลิกรัม เป็นรูปแบบที่มีจำหน่ายเป็นยาในประเทศไทย มีข้อบ่งใช้รักษาอาการนอนไม่หลับปฐมภูมิระยะสั้นในผู้ป่วยอายุ 55 ปี ขึ้นไป โดยใช้ขนาด 2 มิลลิกรัมทานก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง โดยสามารถใช้สูงสุดติดต่อกันได้
เมลาโทนิน.com ขอขอบคุณ🙏
Original Content
By : บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
คณะเภสัชฯ ม.มหิดล
เมลาโทนิน เหมาะกับใคร..❓
✎ บุคคลที่มีอาการนอนหลับผิดเวลา หรือ delayed sleep phase syndrome ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับ คือไม่สามารถนอนหลับได้ก่อนเวลา 2.00 น. และมักมีปัญหาในการตื่นนอนตอนเช้า
✎ บุคคลที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia)
✎ บุคคลที่มีปริมาณเมลาโมนินต่ำเกินไปเนื่องจากเกิดภาวะเจ็ทแลค (jet lag) หรือทำงานเป็นกะ (shift work)
✎ ผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตเมลาโทนินได้น้อยลง ส่งผลให้เวลานอนของผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยแล้วลดน้อยลงและประสบกับปัญหานอนไม่หลับบ่อยครั้ง เมลาโทนินจึงช่วยเพิ่มคุณภาพในการนอนหลับ และระยะเวลาในการนอนหลับที่ดีมากขึ้น
เมลาโทนินมีรูปแบบใดบ้าง..❓
1 | แบบกัมมี่
แบบเยลลี่ คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก และมีคนอีกมากที่เข้าใจผิดว่าเป็นยานอนหลับ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่
ข้อดี : หาซื้อง่าย หน้าตาน่ากิน เคี้ยวเพลินๆ
ข้อเสีย : มักมีน้ำตาลแฝง
ความเร็วในการดูดซึม : ปานกลางถึงเร็ว
2 | แบบเม็ดสำหรับกลืน
แบบเม็ดคล้ายยาหรืออาหารเสริม คนส่วนใหญ่รู้จักแต่ยังแยกไม่ออก ว่ามีแบบเม็ดที่สำหรับกลืนพร้อมน้ำ และแบบเม็ดที่สำหรับอมใต้ลิ้นให้ละลาย แต่ละยี่ห้อก็มีหลายสูตร บางสูตรดูดซึมเร็ว (Fast Dissolve) บางสูตรดูดซึมช้า (Slow Dissolve)
ข้อดี : หาซื้อง่าย ราคาต่ำ
ข้อเสีย : คนมักไม่เข้าใจความแตกต่าง
ความเร็วในการดูดซึม : มีแบบเร็วและช้า
3 | แบบเม็ดอมใต้ลิ้น
ใต้ลิ้นของเราจะมีเส้นเลือดดำที่พุ่งตรงไปที่หัวใจได้ทันที แบบอมใต้ลิ้นเลยออกฤทธิ์เร็วกว่าแบบกลืน
ข้อดี : หาซื้อง่าย ราคาต่ำ
ข้อเสีย : คนมักไม่เข้าใจความแตกต่าง
ความเร็วในการดูดซึม : เร็ว
รีวิวจากลูกค้า
จัดส่งฟรี ทั่วประเทศ
มีบริการเก็บเงินปลายทาง
ประโยชน์เมลาโทนิน..😴
1. รักษาโรคนอนไม่หลับ
2. รักษาความผิดปกติของนาฬิกาชีวภาพ
3. รักษากลุ่มอาการนอนหลับผิดเวลา อาการของโรคนี้คือไม่สามารถ นอนหลับก่อนเวลาตีสองได้
4. บรรเทาอาการง่วงนอนเนื่องจากเจ็ทแลค
5. ช่วยคนที่ทำงานเป็นกะ ให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
6. ชะลอความชราภาพ
⭐ปริมาณใช้เมลาโทนินที่เหมาะสม⭐
การใช้เมลาโทนินในผู้ใหญ่👨🏻
★ สำหรับภาวะการนอนหลับผิดปกติในผู้ที่ตาบอด ใช้เมลาโทนิน 0.5-5 มิลลิกรัม ทุกวันก่อนเข้านอนนานถึง 6 ปี และมีข้อมูลการใช้เมลาโทนินปริมาณสูงที่ 10 มิลลิกรัม ก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมงนาน 9 สัปดาห์
★ สำหรับนอนหลับยาก ใช้เมลาโทนิน 0.3-5 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 9 เดือน
★ สำหรับปัญหาการนอนหลับในผู้ที่วงจรการนอนถูกรบกวน ใช้เมลาโทนิน 2-12 มิลลิกรัม ก่อนเข้านอนนานถึง 4 สัปดาห์
★ สำหรับภาวะนอนไม่หลับจากการใช้ยาเบต้า บล็อกเกอร์ ใช้เมลาโทนิน 2.5 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 4 สัปดาห์ หรือครั้งละ 5 มิลลิกรัม
★ สำหรับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ใช้เมลาโทนิน 10 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 8 สัปดาห์
★ สำหรับความดันโลหิตสูง ใช้เมลาโทนินที่มีการปลดปล่อยยาคงที่ 2-3 มิลลิกรัม นาน 4 สัปดาห์
การใช้เมลาโทนินในเด็ก👧🏻
★ สำหรับภาวะการนอนหลับผิดปกติในผู้ที่ตาบอด ใช้เมลาโทนิน 0.5-4 มิลลิกรัม ทุกวันก่อนเข้านอนนานถึง 6 ปี และมีข้อมูลการใช้เมลาโทนินปริมาณสูงที่ 10 มิลลิกรัม ก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง นาน 9 สัปดาห์
★ สำหรับนอนหลับยาก ใช้เมลาโทนิน 1-6 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 1 เดือน
★ สำหรับปัญหาการนอนหลับในผู้ที่วงจรการนอนถูกรบกวน ใช้เมลาโทนิน 0.5-12 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 12 สัปดาห์ในเด็กและวัยรุ่นที่อายุตั้งแต่ 3 เดือนจนถึง 18 ปี
✦•·············•✦•·············•✦